จัดทำโดย
นายกรธวัช สถาวรศีลพร
วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร๋
HISTORY of
Engineering TU
ในปี พ.ศ. 2531 สมัยศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เสนอโครงการจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในช่วงการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 6 โดยผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531 และจัดส่งให้ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณา เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2531 ขณะเดียวกันได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2531 พิจารณาเรื่องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ยกฐานะวิทยาลัยในหลายจังหวัดขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยและได้มีมติ “ให้ทบวงมหาวิทยาลัยรับไปพิจารณาเสนอจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วน”
ภาควิชาวิศวกรรม
ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรระดับปริญญาตรี เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และ
วิทยาศาตร์สุขภาพ โดยประกอบด้วยหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรทวิภาษา และหลักสูตรนานาชาติ รวมถึงมีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการพิเศษ ได้แก่ หลักสูตรสองปริญญา (Double Degree) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการเรียนการสอนร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หลักสูตรสองวิชาเอก (Double Major) และหลักสูตรปริญญาตรีควบโท ซึ่งใช้เวลาเรียนเพียง 5 ปี เพื่อรับวุฒิปริญญาโท ทั้งนี้ ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่เสริมสร้างการเป็นบัณฑิตยุคสมัยใหม่ ในด้านกระบวนการทางความคิดและทักษะการเรียนรู้ที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบและความสำนึกในหน้าที่ รวมถึงมีวิชาให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้และเตรียมพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (นานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (นานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (สองสถาบัน สองปริญญา)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (นานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (สองสถาบัน สองปริญญา)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (นานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (สองสถาบัน สองปริญญา)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (นานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สองสถาบัน สองปริญญา)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและบริหารการก่อสร้าง (EBM)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (สองสถาบัน สองปริญญา)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (นานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอุตสาหการ (IPEN-IEE
หลักสูตร
ปริญญาโท
รวมทั้งสิ้น 19 หลักสูตร (รวมหลักสูตรนานาชาติ 2 หลักสูตร) ได้แก่ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) จำนวน 15 สาขาวิชา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) จำนวน 4 สาขาวิชา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ (หลักสูตรพหุวิทยาการ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอุตสาหการ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
หลักสูตร
ปริญญาเอก
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่เน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นนักวิจัยที่มีความรู้ ความสามารถเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี การสร้างองค์ความรู้และความเป็นเลิศทางวิชาการและวิจัยในสาขาต่างๆ ทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพการงาน ในหลากหลายสาขาวิชาทางวิศวกรรมศาสตร์
CIVIL ENGINEER
วิศวกรรมโยธา หรือเรียกสั้นๆ นายช่าง วิศวกรโยธาที่ทุกคนรู้จักในนามทั่วไป
วิศวกรรมโยธาเป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในสาขาวิศวกรรม โดยจะครอบคลุมสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เขื่อน ถนน สะพาน อาคารที่อยู่อาศัย ระบบสาธารนูปต่างๆ เป็นต้น ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่
รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ การบริหารจัดการการก่อสร้าง สิ่งที่สำคัญที่สุดงานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากร
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ลักษณะการทำงาน
ควบคุมงานสำรวจ ก่อสร้าง หรือซ่อมแซม จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจดูงานนอกสถานที่ใ
นบางครั้ง เนื่องจากต้องควบคุมดูแลงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับงานหรือสถานที่ทำงานที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย ในการทำงาน
วิศวกรโยธาจึงต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน
รายละเอียดหลักสูตร สาขาวิศวกรรมโยธา
Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering หรือ B.Eng.(Civil Engineering)
สอบถามเพิ่มเติม:
ศูนย์รังสิต
อาคารอำนวยการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
99 หมู่ 18, ถ.พหลโยธิน, ต.คลองหนึ่ง, อ.คลองหลวง, จ.ปทุมธานี 12120
Tel. +66 (0) 2564 3001-9
ศูนย์พัทยา
อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์
เลขที่ 39/4 หมู่ 5 ต.โป่ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
Tel. 038 259 010 - 69 ต่อ 3000
เว็บไซต์